หลากหลายเรื่องราว เกี่ยวกับประเทศฟินแลนด์ เกร็ดน่ารู้ วัฒนธรรม และวิถีแบบชาวฟินน์
วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
สังคม และ คนฟินแลนด์ ที่ฉันได้สัมผัส
เล่าจากมุมมองของผู้เขียนบล็อกเองนะคะ ตลอด 3 ปีที่ใช้ชีวิตที่ฟินแลนด์ สิ่งที่เห็นและสิ่งที่ได้สัมผัสคือ สังคมที่นี่เป็น
สังคมแห่งความเสมอภาค ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร เชื้อชาติ หรือสัญชาติอะไร นับถือศาสนาอะไร พิการหรือปกติ รวยหรือจน ทุกคนมีสิทธิ "เท่าเทียมกัน"ในสังคม ในทุกๆด้าน อย่างเช่น การรักษาพยาบาลใน รพ ของรัฐ ที่นี่ทุกคนจะได้รับการบริการ ตามมาตรฐานและคุณภาพเดียวกัน ไม่มีการแบ่งแยก คนจน คนรวย ไม่มีห้องพิเศษ ไม่ใช่ว่ามีเงินจ่าย ฉันอยากได้ห้องพิเศษ ที่นี่ไม่มีนะคะ การได้รับสวัสดิการและบริการต่างๆจากรัฐ เป็นไปอย่าง เท่าเทียม และทั่วถึง
โอกาสที่เท่าเทียมกัน ในทุกๆด้านของสังคม เช่น โอกาสทางการศึกษา หากอยากเรียนพยาบาล ตอนอายุ 45 ปี ก็สามารถไปเรียนได้ นั่งเรียนรวมกับคนอายุ 25 ก็ไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด
โอกาสในการทำงาน โดยไม่มีการแบ่งแยกเพศ ชาย หญิง หรือ เพศที่สามก็ตาม ทุกคนมีสิทธิเท่ากัน
เพศเดียวกันก็สามารถแต่งงานกันได้ มีกฏหมายรับรองเหมือนคู่สมรสชายหญิงทั่วไป แม้แต่คนไทยหัวดำอย่างเรา เมื่อมาอยู่ที่นี่แล้ว เราก็ได้รับการปฏิบัติเสมือนคนฟินน์ทั่วไป
นอกจากความเสมอภาคในสังคมแล้วในครอบครัวก็เช่นกัน สามีภรรยาจะช่วยกันทำงานบ้าน และ ดูแลลูกๆ รวมถึงค่าใช้จ่ายในบ้านด้วย หากสามีและภรรยาทำงานทั้งคู่ ค่าใช้จ่ายในบ้าน จะต้องช่วยกันออก เมื่อภรรยาคลอดบุตร สามีก็สามารถใช้สิทธ์ลาเพื่อช่วยเลี้ยงลูกได้เช่นกัน เด็กๆมีอิสระที่จะแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
สังคมแห่งความเชื่อใจ ตัวอย่างเช่น ที่ซุปเปอร์มาเก็ต ซื้อผักผลไม้ต้องชั่งน้ำหนักเองติดราคาเอง ไม่มีพนักงานคอยบริการ ไม่มี รปภ ยืนตรวจ ( มีเพียงกล้องวงจรปิด ซึ่งบางแห่งก็ไม่มี)
ร้านขายดินขายปุ๋ย ลูกค้าขับรถไปจอดหน้าร้าน ขนกระสอบดินขึ้นท้ายรถ แล้วเดินเข้าไปในร้านบอกแคชเชียร์ว่าซื้อดินไปกี่ถุงราคาเท่าไหร่ จ่ายตังค์ พนักงานก็ไม่ได้ตรวจสอบว่าดินในท้ายรถมีกี่ถุง ถามว่าจะมีคนคิดไม่ซื่อมั้ย คิดว่าอาจจะมีแต่คงน้อยมากๆ จนแทบไม่ต้องกังวลเลย สิ่งที่คนที่นี่มีคือ
ความเชื่อใจ คนขายเชื่อใจ ว่าลูกค้ามีความซื่อสัตย์
เคยแอบถามคนฟินน์เหมือนกันว่า ถ้ามีคนเอาดินใส่รถไป 5 ถุง แต่โกหกว่า มีแค่ 3 ถุง คนขายจะรู้มั้ยเขา ถามกลับว่า จะทำแบบนั้นไปทำไม ไม่มีใครทำหรอก ทำไปเพื่ออะไร ละอายใจที่จะทำ นั่นคือคำตอบของคนฟินน์ค่ะ
ในห้องเรียน นักเรียนได้รับอนุญาตจากครู ให้ใช้โทรศัพท์ได้เพื่อค้นหาข้อมูล แปลภาษา หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับการเรียนเท่านั้น ถ้าไปถามครูหรือนักเรียนว่าจะรู้ได้อย่างไร ว่านักเรียนไม่ได้แอบใช้โทรศัพท์ทำอย่างอื่นนอกจากเรื่องเรียน คำตอบคือ ครูก็ไม่รู้หรอก แต่เขาไว้ใจกัน เคารพและให้เกียรติกัน
สังคมแบบต่างคนต่างอยู่ ในครอบครัวจะมีเพียง พ่อแม่ ลูก เมื่อลูกอายุครบ 18ปี ก็จะย้ายออกไปอยู่ลำพัง ไม่มีวัฒนธรรมที่ลูกต้องดูแลส่งเสียเงินให้พ่อแม่ แม้ในยามแก่เฒ่า เพราะที่นี่รัฐมีหน้าที่ดูแล คนไม่ค่อยยุ่งเรื่องส่วนตัวกัน แม้แต่พี่น้องก็ไม่มาวุ่นวายกัน นานๆเจอกันที ก็ถามไถ่แค่พอรู้เรื่อง คือเขาไม่ได้มาสนใจว่าเออบ้านข้างๆมีอะไร ไม่ได้มาสนใจว่า ลูกบ้านนั้น เขยบ้านนี้ ลูกสะใภ้บ้านโน้น เป็นอย่างไร เราชอบนะตรงนี้ ไม่วุ่นวายดีเนอะ เรื่องไม่เยอะดี แต่บางทีก็รู้สึกว่าคนที่นี่ต่างคนต่างอยู่เกินไป
ที่นี่เขาจะไม่เรียกทุกคนว่าเพื่อน เขาจะแยกชัดเจน คนรู้จัก เพื่อนบ้าน เพื่อนที่ทำงาน เพื่อนสนิท การจะไปมาหาสู่กัน ต้องมีความสนิทมาก ซึ่งต่างกับคนไทยเรา ที่เจอกันแค่ครั้งเดียว แลกเบอร์กัน ชวนกันมาทานข้าวที่บ้าน ถือว่าเป็นเรื่องปกติ การจะไปงานวันเกิด งานแต่ง งานศพ หรืองาน อะไรก็ตาม ต้องได้รับการเชิญเท่านั้น
คนฟินน์ จะรักสันโดษมาก ชอบอยู่กับธรรมชาติ ซื่อสัตย์ ถ่อมตน พูดน้อย ขี้อาย และ หน้าเดียว ทุกความรู้สึก ไม่คุยกับคนแปลกหน้า แต่แก้ผ้าเข้าซาวน่ากับคนแปลกหน้าได้ 😂😂 ไม่อวดร่ำอวดรวย ไม่เห่อแบรนด์เนม ถ้ามีตังค์เขาจะเก็บเป็นความลับสุดยอดเลยกลัวคนรู้ 😃😃
การพูดน้อยและขี้อาย สำหรับบางคนอาจจะเป็นเฉพาะกับคนแปลกหน้าเท่านั้น หากได้รู้จักกันแล้ว ก็คุยกันได้ตามปกติ แต่ประเภทน้ำไหลไฟดับ ก็มีนะแต่ส่วนน้อย และจะดูเป็น คนฟินน์ ที่แปลกๆไปทันที 😁
คนฟินน์อาจจะดูใจเย็น ทำอะไรไม่เร่งรีบ แต่ถ้ามีการนัดหมายอะไรก็ตาม จะตรงต่อเวลามาก เรื่องนี้สำคัญนะคะ ถ้าใครมีนัดกับคนฟินน์ ห้ามสายเด็ดขาด เขาเคร่งครัดเรื่องเวลามากค่ะ
ถ้าอยากรู้ว่าคนฟินน์กำลังคิดอะไร หากดูจากสีหน้าคงจะเดายากหน่อยค่ะ ต้องดูที่การกระทำเป็นหลัก อาจจะด้วยสภาพอากาศที่หนาวเย็นเกือบทั้งปี ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเลสาบ และป่า คนก็น้อยอีก จึงทำให้คนที่นี่ค่อนข้างใจเย็น จนดูเย็นชาไปเลย
พูดถึงผู้ชายบ้านนี้ค่อนข้างรักครอบครัว ช่วยภรรยาทำงานบ้าน ที่เจ้าชู้ก็มีเยอะ ความเจ้าชู้คงไม่เกี่ยวกับชนชาติ ( มั้ง) สาวๆบ้านนี้ดื่มเก่งมาก สถิติการดื่มเผลอๆมากกว่าผู้ชายด้วยซ้ำ
แต่คนฟินน์ค่อนข้างมีวินัยมากเรื่องการดื่ม ตรงนี้ผู้เขียนชอบมากค่ะ ต่อให้ดื่มเก่งแค่ไหน เขาจะดื่มในวันหยุดเท่านั้น ถ้ารู้ว่าพรุ่งนี้ต้องทำงาน หรือต้องขับรถ เขาจะไม่ดื่มเด็ดขาด ปริมาณแอลกอฮอล์ ที่อนุญาตให้ขับรถได้คือ ไม่เกิน 0.5% เท่ากับเบียร์ 1 กป ถ้าต้องขับรถ เขาจะดื่มแค่ กระป๋องเดียว แม้จะนั่งล้อมวงกับเพื่อนๆ ถ้าเพื่อนๆ รู้ว่าต้องขับรถ จะไม่มีการคะยั้นคะยอให้ดื่มเด็ดขาด
การแต่งกายของคนที่นี่ จะเน้นสีดำๆ สีทึมๆค่ะ สีสันฉูดฉาดไม่ค่อยมีให้เห็น มีเรื่องขำๆเรื่องนึง คือเมืองที่อยู่มีคนรัสเซียอยู่ค่อนข้างเยอะ มาใหม่ๆเราก็แยกไม่ออก คนรัสเซีย หรือคนฟินน์ มีคนแนะว่าให้ดูที่การแต่งตัว จากการที่สังเกตก็จริงนะคะ ถ้าแต่งตัวสวยๆ แลดูแฟชั่นทันสมัยหน่อย ก็คือสาวรัสเซีย ถ้าแต่งตัวธรรมดาก็คือคนฟินน์ คือคนที่นี่จะจัดเต็มเฉพาะเวลามีงานที่เป็นทางการ ถ้าชีวิตประจำวันคือเรียบง่ายมากๆ
เคยมีคนบอกว่าคนฟินน์ขี้เหนียว จริงหรือไม่ คงแล้วแต่คนจะนิยาม ความหมายของคำว่าขี้เหนียว ที่แตกต่างกันไป สำหรับผู้เขียน ขอใช้คำว่า ประหยัด น่าจะถูกกว่า คือโดยธรรมชาติ ของคนที่นี่คือ ชอบความเรียบง่าย ไม่เน้นแบรนด์เนม ไม่อวดรวย เลือกใช้ของตามความต้องการ
เช่น รถเก่าๆ ถ้ามันยังใช้ได้ดีอยู่ ก็ใช้ไปไม่จำเป็นต้องซื้อใหม่ โทรศัพท์เก่าๆ ถ้าชีวิตประวันจำวันต้องการแค่นั้น ก็ใช้แค่นั้น ไม่จำเป็นต้องเปลื่ยนตามใคร ชักจะยาวไปแล้ว พักสายตาก่อนดีกว่า ถ้ามีเวลาเดี๋ยวมาเม้าท์คนฟินน์ต่อ ภาค 2 ค่ะ
วันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
สวัสดิการ เงินว่างงาน เงินช่วยเหลือการปรับตัว ชีวิตที่ฟินแลนด์
ก่อนจะพูดถึงเรื่อง เงินสวัสดิการ ขอเล่าเกี่ยวกับหน่วยงานที่จะเข้ามามีบทบาทกับชีวิตของเรา เมื่อมาอยู่ที่นี่กันก่อนเนาะ นั่นคือ Te กับ kela. Te หรือกรมแรงงาน จะมีหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา วางแผนการปรับตัว การจัดหางาน หาที่เรียนภาษา หาที่ฝึกงาน ประมาณนี้ค่ะ ส่วน kela คือผู้จ่ายเงิน มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับ สวัสดิการด้านสุขภาพ คล้ายๆประกันสังคมบ้านเราค่ะ
สองหน่วยงานนี้จะทำงานร่วมกัน Te เป็นผู้เขียนรายงาน แผนการจ่ายเงิน ส่งให้ kela ซึ่ง kela จะเป็นผู้พิจารณาและตัดสินใจการจ่ายเงินอีกครั้ง
หลังจากแต่งงาน ได้เรสสิเดนท์เพอมิทแล้ว ( ผู้เขียนขอเรสฯที่ไทยค่ะ) พอมาถึงฟินแลนด์ ก็เดินเรื่องติดต่อหน่วยงานต่างๆ เล่าคร่าวๆนะคะ
ทีนี้มันจะมีเคสที่ไม่ได้ทำงานมาก่อน หรือเคยทำ แต่ไม่มีใบรับรองงาน หรือใบวุฒิฯมาด้วย กรณีนี้จะต้องอยู่ฟินแลนด์จนครบกำหนดก่อน ถึงจะเริ่มได้รับเงินช่วยเหลือ ( แต่ถ้าได้เรียน หรือฝึกงานก่อน ก็สามารถรับเงินได้เช่นกัน) คือเขาจะมีกฎเรื่องระยะเวลาการว่างงานมาเกี่ยวข้องด้วย และต้องมีใบรับรองงานมา
นั่นหมายถึงใบรับรองงานมีความสำคัญมาก ถ้าใครกำลังจะมาอยู่ฟินแลนด์ ให้เตรียมใบรับรองการทำงานติดตัวมาด้วยนะคะ (และต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
อีกเคสนึงอันนี้ผู้เขียนได้ยินได้ฟังมานะคะ บางคนเคยทำงานมาก่อน และว่างงานมาแล้ว 6 เดือน แต่ไม่มีใบรับรองงานมาด้วย บางคนได้รับเงินช่วยทันที บางคนก็ต้องรอ 6 เดือน ซึ่งเคสแบบนี้คิดว่าน่าจะเกิดจากการพิจารณาของเจ้าหน้าที่แต่ละเมือง ( เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ ถ้าผิดขอภัยด้วยค่ะ )
จำนวณเงินที่จะได้รับ อธิบายเป็นเคสๆไปนะคะ
ในกรณีที่อยู่บ้านเฉยๆ ยังไม่ได้เรียน/ฝึกงาน จะได้รับวันละ 32.66€ คิดเฉพาะ จ-ศ
32.66 x 20 = 653 € หัก ภาษี 20% ( 130€ ) * อัพเดทจำนวนเงินของ ปี 2017 คือวันละ 32.40€ ค่ะ
รวมเงินที่จะได้รับต่อเดือนหลังหักภาษีแล้ว คือ 522 €
รอบการจ่ายเงินแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกันนะคะ อันนี้คือคิดให้ดูคร่าวๆต่อเดือน ตัวเลขอาจจะไม่เปะค่ะ แต่ก็ใกล้เคียง
ถ้าได้ไป รร หรือ ฝึกงาน จะได้เงินค่าเดินทางเพิ่มวันละ 9€ เงินจำนวณนี้ไม่หักภาษี ให้เฉพาะวันที่ ไปเรียนหรือฝึกงาน ( ลาป่วย ลากิจ งดจ่าย)
เมื่อไปเรียน 200 วันแรก จะได้เงินช่วยเหลือเพิ่มอีก วันละ 4.75€ เงินตัวนี้หักภาษี 20% และจะได้เฉพาะ 200 วันแรกที่เรียนเท่านั้น จะคำนวณเฉพาะวันที่ไปเรียนเท่านั้น ช่วง รร ปิดเทอม ลากิจ ลาป่วย ขาดเรียน จะไม่นำมาคำนวณด้วยนะคะ บางคนอาจจะไม่สังเกตว่าเงินอะไร มารู้ตัวอีกที เอะ ทำไมเดือนนี้ฉันได้เงินน้อยลง เงินตัวนี้จะใส่ในรายการเดียวกับเงินว่างงานถ้าได้ไปเรียนตัวเลขจะแจ้งที่ประมาณ 37€ กว่าๆ/วัน
สรุปกรณีอยู่บ้านเฉยๆ จะได้เงินหลังหักภาษีแล้ว ประมาณ 522€ ( ก่อนหักภาษี =653€ คำนวณ 20 วันต่อเดือนนะคะ บางทีรอบการจ่ายอาจจะจำนวณวัน ไม่เท่ากัน)
กรณีไปเรียน 200วันแรก จะได้เงินหลังหักภาษีแล้วประมาณเดือนละ 800€ ( ก่อนหักภาษี= 928€ )
พอหมดช่วง 200 วันแรก ( แต่ยังเรียนอยู่) จะได้เงินหลังหักภาษีแล้วประมาณ 702 € ( ก่อนหักภาษี 833€)
ปล อันนี้เฉพาะคนที่ไม่มีลูกขณะไปเรียนนะคะ ส่วนในกรณีคนที่มีลูกจะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก แต่รายละเอียดตรงนี้ผู้เขียนไม่แน่ใจ เลยไม่กล้าบอกต่อค่ะ เอาไว้ถ้าได้ข้อมูลที่ถูกต้องจะมาอัพเดทนะคะ ตัวเลขที่ยกตัวอย่างมาอาจจะไม่เปะ แต่ก็ใกล้เคียงมาก ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยค่ะ
สองหน่วยงานนี้จะทำงานร่วมกัน Te เป็นผู้เขียนรายงาน แผนการจ่ายเงิน ส่งให้ kela ซึ่ง kela จะเป็นผู้พิจารณาและตัดสินใจการจ่ายเงินอีกครั้ง
หลังจากแต่งงาน ได้เรสสิเดนท์เพอมิทแล้ว ( ผู้เขียนขอเรสฯที่ไทยค่ะ) พอมาถึงฟินแลนด์ ก็เดินเรื่องติดต่อหน่วยงานต่างๆ เล่าคร่าวๆนะคะ
- ไปยื่นเอกสารที่ไมตาสติเพื่อขอเลขประจำตัว ( รอประมาณ 1 สัปดาห์)
- เมื่อได้เลขประจำตัวแล้ว ต่อจากนั้น ก็ไปยื่นเอกสารที่ kela ( เพื่อขอรับบัตร kela )
- ต่อด้วย Te หลังจากยื่นเอกสารเพื่อเข้าระบบเป็นคนว่างงานกับ Te แล้ว ทาง Te จะนัดพูดคุยอีกครั้ง ช้า เร็ว ขึ้นอยู่กับแต่ละเมืองและคิว ถ้าขอล่ามด้วยอาจจะรอนานหน่อยค่ะ เป็นการนัดพูดคุยเพื่อวางแผน แนะนำแนวทางการปรับตัว การทำงาน การเรียน และเงินช่วยเหลือที่จะได้รับ ( ในขั้นตอนนี้สามารถขอล่ามได้ค่ะ ) จากนั้น Te จะออกเอกสารให้เพื่อนำไปยื่นที่ kela เพื่อขอรับเงินช่วยเหลือ
- นำหมายเลขประจำตัวที่ได้จากไมตาสติ ไปทำบัตรประชาชนที่สถานีตำรวจ ต่อจากนั้น ไปขอเปิดบัญชีที่ธนาคาร
ทีนี้มันจะมีเคสที่ไม่ได้ทำงานมาก่อน หรือเคยทำ แต่ไม่มีใบรับรองงาน หรือใบวุฒิฯมาด้วย กรณีนี้จะต้องอยู่ฟินแลนด์จนครบกำหนดก่อน ถึงจะเริ่มได้รับเงินช่วยเหลือ ( แต่ถ้าได้เรียน หรือฝึกงานก่อน ก็สามารถรับเงินได้เช่นกัน) คือเขาจะมีกฎเรื่องระยะเวลาการว่างงานมาเกี่ยวข้องด้วย และต้องมีใบรับรองงานมา
นั่นหมายถึงใบรับรองงานมีความสำคัญมาก ถ้าใครกำลังจะมาอยู่ฟินแลนด์ ให้เตรียมใบรับรองการทำงานติดตัวมาด้วยนะคะ (และต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ)
อีกเคสนึงอันนี้ผู้เขียนได้ยินได้ฟังมานะคะ บางคนเคยทำงานมาก่อน และว่างงานมาแล้ว 6 เดือน แต่ไม่มีใบรับรองงานมาด้วย บางคนได้รับเงินช่วยทันที บางคนก็ต้องรอ 6 เดือน ซึ่งเคสแบบนี้คิดว่าน่าจะเกิดจากการพิจารณาของเจ้าหน้าที่แต่ละเมือง ( เป็นความเห็นส่วนตัวนะคะ ถ้าผิดขอภัยด้วยค่ะ )
จำนวณเงินที่จะได้รับ อธิบายเป็นเคสๆไปนะคะ
ในกรณีที่อยู่บ้านเฉยๆ ยังไม่ได้เรียน/ฝึกงาน จะได้รับวันละ 32.66€ คิดเฉพาะ จ-ศ
32.66 x 20 = 653 € หัก ภาษี 20% ( 130€ ) * อัพเดทจำนวนเงินของ ปี 2017 คือวันละ 32.40€ ค่ะ
รวมเงินที่จะได้รับต่อเดือนหลังหักภาษีแล้ว คือ 522 €
รอบการจ่ายเงินแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกันนะคะ อันนี้คือคิดให้ดูคร่าวๆต่อเดือน ตัวเลขอาจจะไม่เปะค่ะ แต่ก็ใกล้เคียง
ถ้าได้ไป รร หรือ ฝึกงาน จะได้เงินค่าเดินทางเพิ่มวันละ 9€ เงินจำนวณนี้ไม่หักภาษี ให้เฉพาะวันที่ ไปเรียนหรือฝึกงาน ( ลาป่วย ลากิจ งดจ่าย)
เมื่อไปเรียน 200 วันแรก จะได้เงินช่วยเหลือเพิ่มอีก วันละ 4.75€ เงินตัวนี้หักภาษี 20% และจะได้เฉพาะ 200 วันแรกที่เรียนเท่านั้น จะคำนวณเฉพาะวันที่ไปเรียนเท่านั้น ช่วง รร ปิดเทอม ลากิจ ลาป่วย ขาดเรียน จะไม่นำมาคำนวณด้วยนะคะ บางคนอาจจะไม่สังเกตว่าเงินอะไร มารู้ตัวอีกที เอะ ทำไมเดือนนี้ฉันได้เงินน้อยลง เงินตัวนี้จะใส่ในรายการเดียวกับเงินว่างงานถ้าได้ไปเรียนตัวเลขจะแจ้งที่ประมาณ 37€ กว่าๆ/วัน
สรุปกรณีอยู่บ้านเฉยๆ จะได้เงินหลังหักภาษีแล้ว ประมาณ 522€ ( ก่อนหักภาษี =653€ คำนวณ 20 วันต่อเดือนนะคะ บางทีรอบการจ่ายอาจจะจำนวณวัน ไม่เท่ากัน)
กรณีไปเรียน 200วันแรก จะได้เงินหลังหักภาษีแล้วประมาณเดือนละ 800€ ( ก่อนหักภาษี= 928€ )
พอหมดช่วง 200 วันแรก ( แต่ยังเรียนอยู่) จะได้เงินหลังหักภาษีแล้วประมาณ 702 € ( ก่อนหักภาษี 833€)
ปล อันนี้เฉพาะคนที่ไม่มีลูกขณะไปเรียนนะคะ ส่วนในกรณีคนที่มีลูกจะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มอีก แต่รายละเอียดตรงนี้ผู้เขียนไม่แน่ใจ เลยไม่กล้าบอกต่อค่ะ เอาไว้ถ้าได้ข้อมูลที่ถูกต้องจะมาอัพเดทนะคะ ตัวเลขที่ยกตัวอย่างมาอาจจะไม่เปะ แต่ก็ใกล้เคียงมาก ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยค่ะ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)